ไลฟ์สไตล์แบบไหน เสี่ยงเป็นโรคหัวใจกำเริบเลิฟฟฟ
ไลฟ์สไตล์แบบไหน เสี่ยงเป็นโรคหัวใจกำเริบเลิฟฟฟ โรคหัวใจ โรคร้ายที่คนไทยป่วยอันดับต้น ๆ อีกด้วย ซึ่งเฉลี่ยทุก 1 ชั่วโมง จะพบว่ามีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดถึง 2 คน เห็นแบบนี้ พอเริ่มเจ็บแปลบที่หัวใจอาจไม่ใช่อกหัก หรือปวดไหล่ซ้ายบ่อย ๆ อาจไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรมอย่างที่คิด แต่ควรเช็กความเสี่ยงว่าป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่ เพราะหากปล่อยไว้แล้ว ค่ารักษาโรคหัวใจก็ไม่เบาเลย การซื้อประกันโรคหัวใจเตรียมไว้ ก็จะช่วยให้เบาใจมากขึ้น แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น มาดูกันว่าโรคหัวใจมีอาการยังไง ป่วยแล้วห้ามกินอะไร หรือจะมีวิธีดูแลหัวใจแบบไหนกันบ้าง
โรคหัวใจ กับอาการที่ต้องสังเกต
สำหรับโรคหัวใจแล้ว การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตัวเอง ก็ช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที เพราะหากละเลยมารู้ตัวอีกทีก็อาจเป็นโรคหัวใจระยะสุดท้ายไปแล้วก็ได้ มาลองสังเกตอาการโรคหัวใจกันดีกว่า ว่ามีอาการแบบไหนบ้าง
- ใจสั่น
- หัวใจเต้นเร็ว
- เหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หายใจเข้าได้ลำบาก
- เจ็บหน้าอก บริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีอะไรมาทับ ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่ อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก
- ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
- อาการวูบ หรือหน้ามืด
ซึ่งคนที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคหัวใจ ดังนั้นเมื่อเริ่มมีสัญญาณเตือนจากร่างกายก็ควรไปตรวจเช็กสุขภาพร่างกายที่โรงพยาบาลอย่างละเอียดจะดีที่สุด
นอกจากเรื่องของอาการ สิ่งที่ต้องสังเกตเพิ่มเติม คือ เรื่องปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ทั้งจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ หรือปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ความเครียดจากการทำงาน ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน
เป็นโรคหัวใจ ห้ามกินอาหารอะไร
หากป่วยเป็นโรคหัวใจ อาหารก็จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาหารมักสัมพันธ์กับโรค หากไม่ดูแลเรื่องอาหารการกินก็อาจทำให้ทรุดลงจนอาจเป็นโรคหัวใจระยะสุดท้าย แต่หากกินอาหารดีมีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำช่วยเพิ่มไขมันดี HDL ผักผลไม้ ที่รสไม่หวานมาก อาหารที่มีกากใย ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง แต่ถ้ากินตามใจปาก จำพวกของหวาน ของมัน ของทอด นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายอีกด้วย
อาหารที่คนเป็นโรคหัวใจควรเลี่ยง
- อาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เลี่ยงไขมันทรานส์ เช่น เบเกอร์รี พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรืออาหาร Fast Food
- แอลกอฮอล์ น้ำหวาน
- อาหารแปรรูปไขมันสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก และไขมันสัตว์จากเมนูอาหาร
- อาหารรสจัด อาหารที่มีส่วนผสมโซเดียมสูง อาหารที่มีส่วนประกอบของผงชูรส อาหารดอง เช่น ปลาเค็ม ผักดอง รวมถึงอาหารรสหวานจัด
วิธีดูแลหัวใจ
เพราะหัวใจคือจุดสำคัญที่สุดในร่างกาย เจ็บป่วยขึ้นมา นอกจากรักษาตามที่แพทย์วินิจฉัย ซึ่งมีวิธีรักษาโรคหัวใจหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจแล้ว ยังต้องดูแลสุขภาพตัวเอง ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น เลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และมีคุณภาพ และกำจัดความเครียด ใช้ชีวิตให้มีความสุข
มาเตรียมตัววางแผนสุขภาพไว้ก่อน กับ LINE BK เจ็บป่วยมาจะได้ไม่ sad กับค่ารักษา
การเตรียมพร้อมรับมือด้วยการมีประกันโรคร้ายแรงไว้ก่อน ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายก้อนโตยามเจ็บป่วยได้ ซึ่งทาง LINE BK ก็มีประกันโรคร้ายแรงที่อยากแนะนำเพื่อนๆ คือ ประกันโรคร้ายเจอจ่าย แบบเลือกความคุ้มครองกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจเจอกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ว่าจะระยะไหนก็ได้รับเงินก้อนสูงสุด 5 แสนบาท เบี้ยไม่แพง เริ่มต้นเพียงวันละไม่ถึง 1 บาท (1)
รายละเอียดเพิ่มเติม
- ประกันผู้ป่วยโรคร้ายเจอจ่าย คลิกที่นี่
หมายเหตุ
1. สำหรับเพศชาย อายุ 20 ปี เลือกแผน 3 (แผนหัวใจ) ความคุ้มครองกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดและหัวใจ และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
2. ผลประโยชน์ เงื่อนไข และความคุ้มครองโดยละเอียด เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
3. การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต
4. โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย