รวบรวมมาให้แล้ว! รายการลดหย่อนภาษีปี 66 มีอะไรบ้าง และประกันอะไรใช้ลดหย่อนได้
สิ้นปี นอกจากจะวางแผนลาพักร้อน ลาเที่ยวกันแล้ว อีก 1 สิ่งที่ห้ามพลาดสำหรับคนที่ต้องการประหยัดภาษี ก็คือการหาผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนที่จะต้องเตรียมยื่นภาษีปีหน้า วันนี้ LINE BK มีรวมรายการค่าลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทมาฝาก และมาดูกันว่า ประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิต ช่วยลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
เช็กให้ครบ รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง
ตัวช่วยลดหย่อนภาษี แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน โดยแต่ละกลุ่มมีรายละเอียด ดังนี้
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
1.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ใช้ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไข
1.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท โดยคู่สมรสจะต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และต้องไม่มีรายได้ (สูงสุด 1 คน)
1.3 ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท โดยสิทธิลดหย่อนนี้จะให้กับภรรยา นอกจากว่าภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจึงจะได้สิทธิแทน
1.4 ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท
· ต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
· อายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่
· หากอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ สามารถลดหย่อนภาษีได้
· บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
1.5 ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้ และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม
1.6 ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุน และ ประกัน
2.1 เบี้ยประกันชีวิต และ ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
2.2 เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (สามารถลดหย่อนภาษีรวมกับข้อ 2.1 ประกันชีวิตและประกันออมทรัพย์ ได้ไม่เกิน 100,000 บาท)
2.3 เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
2.4 เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
2.5 เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
2.6 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท วางแผนการเงินด้วย ประกันบํานาญ ลดหย่อนภาษีได้ แถมตอนเกษียณยังมีเงินใช้อีกด้วย
2.7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
2.8 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
2.9 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน นำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
2.10 กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
2.11 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
(สำหรับกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ข้อ 2.6-2.11 ลดหย่อนภาษีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)
3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
3.1 เงินบริจาคทั่วไป ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
3.2 เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ นำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
3.3 เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
4.1 โครงการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท โดยสินค้าและบริการที่นำมาลดหย่อนภาษี 2566 ได้ คือ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวม E-Book)
4.2 ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันแบบไหน? ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้
· ประกันกลุ่ม เป็นสวัสดิการที่บริษัททำให้แก่พนักงาน บริษัทสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลของบริษัทได้ แต่พนักงานนำไปลดหย่อนภาษีไม่ได้
· เบี้ยประกันชีวิตของลูก ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของค่าใช้จ่ายของบุตรตามที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น ดังนั้น ก่อนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ต้องเลือกประเภทประกันก่อนซื้อ
สำหรับใครที่ยังไม่ได้ศึกษาการซื้อประกันแบบต่าง ๆ แต่อยากได้สิทธิลดหย่อนภาษี 2566 แนะนำให้เลือกซื้อประกันสุขภาพก่อนเลย เพราะได้ทั้งการคุ้มครองสุขภาพ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย หลังจากนั้นจะศึกษาซื้อประกันรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นการวางแผนการเงินในอนาคตและลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน เช่น ประกันบํานาญ และประกันออมทรัพย์
อย่าง LINE BK มีประกันสุขภาพให้เลือก ได้แก่
1. ผู้ป่วยนอกเบาเบา – ช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก เลือกวงเงินความคุ้มครองได้สูงสุด 2,000 บาท(1) ต่อครั้ง สูงสุด 30 ครั้งต่อปี
ซื้อได้โดยไม่ต้องซื้อพ่วงกับประกันสุขภาพผู้ป่วยใน ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ค่าธรรมเนียมปรึกษาแพทย์ ค่าวินิจฉัยและค่ายา และอื่นๆ
2. โรคร้ายเจอจ่าย – รับเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้ายทั้งระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรง สูงสุด 500,000 บาท(1) ต่อ เพื่อใช้เป็นค่ารักษา หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ตามต้องการ สามารถเลือกความคุ้มครองตามโรคที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดและหัวใจ
3. ผู้ป่วยในท็อปอัพ - ช่วยเติมเต็มค่ารักษาส่วนเกินจากประกันหรือสวัสดิการที่มีอยู่เมื่อนอนโรงพยาบาล สูงสุด 500,000 บาท(1) ต่อ / ครั้ง (มีความรับผิดส่วนแรก 20,000 บาท/ครั้ง) ค่าห้องสูงสุด 4,000 บาท(1) ต่อ ต่อวัน และไม่จำกัดครั้งการเข้าแอดมิท ครอบคลุมทั้งโรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคระบาด ผ่าตัด และอุบัติเหตุ
4. ผู้ป่วยในเหมาเหมา – เหมาจ่ายค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานและค่ารักษาตามจริง สูงสุด 500,000 บาท(1) ต่อ/ครั้ง ไม่จำกัดครั้งการเข้าแอดมิท ครอบคลุมทั้งโรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคระบาด ผ่าตัด และอุบัติเหตุ เมื่อนอนโรงพยาบาล รวมถึงค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล
รายละเอียดเพิ่มเติม
· ผู้ป่วยนอกเบาเบา คลิกที่นี่
· โรคร้ายเจอจ่าย คลิกที่นี่
· ผู้ป่วยในท็อปอัพ คลิกที่นี่
· ผู้ป่วยในเหมาเหมา คลิกที่นี่
หมายเหตุ
1. ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือก
2. ผลประโยชน์ เงื่อนไข และความคุ้มครองโดยละเอียด เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
3. การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต
4. บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด เป็นเพียงช่องทางในการโฆษณาเท่านั้น
5. โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย