HIP

ได้เงินชดเชย เมื่อต้องนอนรพ.

หมดห่วงเมื่อเจ็บป่วยต้องนอนรพ. ครอบคลุมทั้งอุบัติเหตุ โรคระบาด โรคทั่วไป โรคร้ายแรง ชดเชยสูงสุด 365 วัน

เข้ารักษาได้สูงสุด 30 ครั้งต่อปี

รับเพิ่มเป็น 2 เท่า 

หากต้องนอนไอ.ซี.ยู หรือนอนรพ.เนื่องจากอุบัติเหตุ หรือนอนรพ.ในต่างประเทศ สูงสุด 45 วัน

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

 

เหมาะกับใคร

เหมาะกับคนที่กลัวขาดรายได้เมื่อต้องหยุดงาน หรืออยากได้เงินชดเชย เมื่อต้องนอน รพ. 

ข้อมูลแบบประกัน

    • สมัครได้ตั้งแต่ :
    • อายุ 20-58  ปี
    • จ่ายเบี้ยประกันภัย :
    • จ่ายเบี้ยปีต่อปี ต่อเนื่องได้ถึง 10 ปี

    • งวดการชำระเบี้ยประกันภัย :
    • รายปี

    • จำนวนปีที่คุ้มครอง :
    • สูงสุด 10 ปี

    • สิทธิลดหย่อนภาษี :
    • ลดหย่อนภาษีได้บางส่วน ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

    • การตรวจสุขภาพ :
    • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพตามจริง

    • ความคุ้มครอง :
    • คุ้มครองชีวิต 50,000 บาท  และชดเชยรายวันตามแผนที่เลือก

    • เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น :
    • 974 บาท/ปี
      (เบี้ยเพศหญิงอายุ 20 ปี แผน 1 กำลังดี)

แผนประกัน

 

  •  

ตัวอย่างเบี้ยประกันภัย

*แผนมีไว้เบาใจ และเพิ่มไว้อุ่นใจ มีให้เลือกชำระเบี้ยประกันภัยได้ทั้งแบบรายเดือน และรายปี
หมายเหตุ: เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับเพศและอายุของผู้เอาประกันภัย

ซื้อประกันผ่าน LINE BK 

ยังไม่มี LINE BK?

สมัคร LINE BK    ดูวิธีการสมัคร  

คำถามที่พบบ่อย

1. ผลประโยชน์ความคุ้มครองโดยย่อ / ตารางผลประโยชน์

ชดเชยไม่ขาดเงิน

จะจ่ายผลประโยชน์ข้อ 2.1 และ 2.2 อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยครั้งใดครั้งหนึ่ง รวมกันแล้วไม่เกิน 365 วัน

ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม

2.ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • ชดเชยไม่ขาดเงิน เป็นชื่อทางการตลาดของ แบบประกันภัย คุ้มครองภายในระยะเวลา 10/10 และสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพเอชไอพี (HIP) รับประกันโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต
  • วงเงินความคุ้มครอง ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือกซื้อ
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ เมืองไทยประกันชีวิตฯ
  • การรับชำระเบี้ยประกันภัยโดยนายหน้าประกันชีวิตเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

3. ซื้อแล้วคุ้มครองเลยไหม

  • คุ้มครองเลยสำหรับอุบัติเหตุ    (ผู้ป่วยใน) และเริ่มคุ้มครองสำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป ภายหลังจาก 30 วัน (เรียกว่า waiting period)  นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครอง*  อย่างไรก็ตาม   
  • ความคุ้มครองผู้ป่วยในนี้มีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 120 วัน นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครอง* สำหรับการเจ็บป่วยเกี่ยวกับ เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

*หมายเหตุ: นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครองหรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม (reinstatement) แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด

โปรดตรวจสอบรายละเอียดข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองเพิ่มเติมในกรมธรรม์ 

4. มีข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายผลประโยชน์กรณีไหนบ้าง

จะไม่จ่ายผลประโยชน์ โดยย่อ เช่น

  • เป็นการรักษาโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคเรื้อรัง รวมถึงภาวะแทรกซ้อน ที่ยังรักษาไม่หายก่อนการทำประกัน (เรียกว่า สภาพที่เป็นมาก่อนการประกันภัย หรือ pre-existing condition) 
  • ยังอยู่ในระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (waiting period) โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 30 วันสำหรับโรคทั่วไป 
  • ไม่ได้แถลงประวัติสุขภาพตามความจริงในขั้นตอนการทำประกัน 
  • ไม่เป็นไปตามความจำเป็นทางการแพทย์ 
  • เป็นข้อยกเว้นของประกันอยู่แล้ว สำหรับความคุ้มครองผู้ป่วยใน มีทั้งหมด 20 ข้อ เช่น
-การฆ่าตัวตาย
-การตรวจรักษาที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม เช่น รักษาสิว ฝ้า กระ รังแค ผมร่วง
-การตรวจสุขภาพ (ไม่ถือว่าเป็นการรักษา)
-ตั้งครรภ์ คลอดบุตร (ไม่ถือว่าเป็นการเจ็บป่วย)
-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-โรคทางจิตเวช
-การตรวจรักษาที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน รวมถึงแพทย์ทางเลือก
-การรักษาหรือการบำบัดการติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นต้น

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่    ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม

โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น เพิ่มเติมในกรมธรรม์ 

5. นอน รพ. ด้วยโรคอะไร ก็เคลมได้ใช่ไหม

ใช่ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) จะนอน รพ. ด้วยสาเหตุอะไรก็เคลมได้ ทั้งโรคระบาด โรคทั่วไป โรคร้ายแรง อุบัติเหตุ

หากเป็นไปตามความจำเป็นทางการแพทย์ และเป็นไปตามเงื่อนไข หรือไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามที่ระบุในกรมธรรม์

6.  ค่าเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยหรือไม่

เบี้ยประกันภัยคงที่ ไม่ปรับตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น

7. รายละเอียดเพิ่มเติม

สำหรับความคุ้มครองชดเชยรายวัน
สภาพที่เป็นมาก่อนการประกันภัย (Pre-existing Condition)
บริษัทฯ จะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ สำหรับโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วย(รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) หรือการบาดเจ็บที่ยังมิได้รักษาให้หาย ก่อนวันทำสัญญา หรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมนี้ครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด เว้นแต่ 
1) ผู้เอาประกันภัย ได้แถลงให้บริษัทฯ ทราบและบริษัทฯ ยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว หรือ 
2) สัญญาเพิ่มเติมนี้มีผลบังคับต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยโรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย(รวมถึงภาวะแทรกซ้อน)นั้น ไม่ปรากฏ อาการ ไม่ได้รับการตรวจรักษาหรือวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือไม่ได้พบหรือปรึกษาแพทย์ ในระยะ 5 ปี ก่อนวันที่สัญญาเพิ่มเติม เริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก

ข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครอง
สัญญาเพิ่มเติมนี้จะไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลหรือความเสียหายที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย (รวมถึงโรคแทรกซ้อน) อาการ หรือสภาวะผิดปกติที่เกิดจากทั้งหมด 20 ข้อ โดยมีตัวอย่างข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครอง เช่น
1. โรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ยังมิได้รักษาให้หายก่อนวันทำสัญญาประกันภัย การตรวจรักษาภาวะที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) หรือปัญหาด้านพัฒนาการ หรือโรคทางพันธุกรรม
2.  โรคเอดส์ หรือ กามโรค หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3.  การรักษาหรือการบำบัดการติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
4. การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท
5. การตรวจรักษาที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน รวมถึงแพทย์ทางเลือก เป็นต้น

สำหรับความคุ้มครองชีวิต
กรณีที่บริษัทประกันจะไม่คุ้มครอง

1. กรณีผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุของกรมธรรม์ครั้งสุดท้าย  หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

2. กรณีผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

3. กรณีผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องแท้จริง และบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าในขณะทำสัญญาประกันภัย อายุที่ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราเบี้ยประกันภัยตามทางค้าปกติของบริษัทฯ

ความสมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้ว และแถลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือรู้อยู่แล้วในข้อความจริงใด แต่ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้นให้บริษัทฯ ทราบในขณะที่ขอเอาประกันภัย ซึ่งถ้าบริษัทฯ ทราบข้อความจริงนั้นๆแล้ว อาจจูงใจบริษัทฯ ให้เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือไม่ยอมทำสัญญา สัญญาประกันภัยจะตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ซึ่งบริษัทฯ อาจบอกล้างสัญญา และไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ ความรับผิดของบริษัทฯ จะมีเพียงคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้วทั้งหมดเท่านั้น