OPD

ผู้ป่วยใน (IPD)

จ่ายค่ารักษาสูงสุดตามแผนที่เลือก ครอบคลุมทั้งโรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคระบาด ผ่าตัด และอุบัติเหตุ เมื่อนอนรพ.

เข้ารักษาได้สูงสุด 30 ครั้งต่อปี

เหมาจ่ายค่าห้องและค่ารักษาตามจริง

ครอบคลุมค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล และเหมาจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยในตามจริงไม่เกินความคุ้มครองต่อครั้ง

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

 

เหมาะกับใคร

เหมาะกับคนที่กังวลเรื่องค่ารักษา เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล

ข้อมูลแบบประกัน

    • สมัครได้ตั้งแต่ :
    • อายุ 21-59 ปี
    • จ่ายเบี้ยประกันภัย :
    • จ่ายเบี้ยปีต่อปี ต่อเนื่องได้จนอายุถึง 99 ปี

    • งวดการชำระเบี้ยประกันภัย :
    • รายเดือน/ รายปี

    • จำนวนปีที่คุ้มครอง :
    • จนถึงอายุ 99 ปี

    • สิทธิลดหย่อนภาษี :
    • ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

    • การตรวจสุขภาพ :
    • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพตามจริง

    • ความคุ้มครอง :
    • คุ้มครองชีวิต 50,000 บาท และ ค่ารักษาเหมาจ่ายผู้ป่วยใน ตามแผนที่เลือก

    • เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น :
    • 765 บาท/เดือน หรือ 8,503 บาท/ปี
      (เบี้ยเพศชายอายุ 21ปี แผน 1 กำลังดี)

แผนประกัน

 

ตัวอย่างเบี้ยประกันภัย (รายเดือน)

หมายเหตุ: เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับเพศและอายุของผู้เอาประกันภัย

ซื้อประกันผ่าน LINE BK 

ยังไม่มี LINE BK?

สมัคร LINE BK    ดูวิธีการสมัคร  

คำถามที่พบบ่อย

1. ผลประโยชน์ความคุ้มครองโดยย่อ / ตารางผลประโยชน์

ผู้ป่วยในเหมาเหมา

ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน จะนับรวมวงเงินค่ารักษาเดิม กรณีรักษาตัวด้วยโรคเดิมหรือด้วยเหตุจากการบาดเจ็บหรือการป่วยเดียวกัน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกันภายใน 90 วัน หากเกิน 90 วัน นับแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย จะนับเป็นวงเงินค่ารักษาครั้งใหม่

ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม สำหรับแผนกำลังดี แผนใคร ๆ ก็ใช้ แผนเพิ่มไว้อุ่นใจ

ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม สำหรับแผนครบคุ้มอุ่นใจ

2. ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • ผู้ป่วยในเหมาเหมา เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัยเมืองไทย สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/99 ,สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ (N) หรือสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ พลัส รับประกันโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต ทั้งนี้ ขึ้นกับแผนความคุ้มครองที่เลือกซื้อ
  • วงเงินความคุ้มครอง ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือกซื้อ
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ เมืองไทยประกันชีวิตฯ
  • การรับชำระเบี้ยประกันภัยโดยนายหน้าประกันชีวิตเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
  • การแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย /พิจารณาจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • หลังกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตและชำระเงินคุณจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองจนกว่าจะผ่านการพิจารณารับประกันภัยจาก บริษัทฯ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต

3. ซื้อแล้วคุ้มครองเลยไหม

  • คุ้มครองเลยสำหรับอุบัติเหตุ (ผู้ป่วยใน) และเริ่มคุ้มครองสำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป ภายหลังจาก 30 วัน (เรียกว่า waiting period)  นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครอง*  อย่างไรก็ตาม 
  • ความคุ้มครองผู้ป่วยในนี้มีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 120 วัน นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครอง* สำหรับการเจ็บป่วยเกี่ยวกับ เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

*หมายเหตุ: นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครองหรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม (reinstatement) แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด

โปรดตรวจสอบรายละเอียดข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองเพิ่มเติมในกรมธรรม์ 

 

4. มีข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายผลประโยชน์กรณีไหนบ้าง

จะไม่จ่ายผลประโยชน์ โดยย่อ เช่น

  • เป็นการรักษาโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคเรื้อรัง รวมถึงภาวะแทรกซ้อน ที่ยังรักษาไม่หายก่อนการทำประกัน (เรียกว่า สภาพที่เป็นมาก่อนการประกันภัย หรือ pre-existing condition)
  • ยังอยู่ในระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (waiting period) โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 30 วันสำหรับโรคทั่วไป 
  • ไม่ได้แถลงประวัติสุขภาพตามความจริงในขั้นตอนการทำประกัน 
  • ไม่เป็นไปตามความจำเป็นทางการแพทย์ 
  • เป็นข้อยกเว้นของแบบประกันอยู่แล้ว สำหรับความคุ้มครองผู้ป่วยใน มีทั้งหมด 21 ข้อ เช่น 
-การฆ่าตัวตาย
-การตรวจรักษาที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม เช่น รักษาสิว ฝ้า กระ รังแค ผมร่วง
-การตรวจสุขภาพ (ไม่ถือว่าเป็นการรักษา)
-ตั้งครรภ์ คลอดบุตร (ไม่ถือว่าเป็นการเจ็บป่วย)
-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-โรคทางจิตเวช
-การตรวจรักษาที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน รวมถึงแพทย์ทางเลือก
-การรักษาหรือการบำบัดการติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นต้น

ทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม สำหรับแผนกำลังดี แผนใคร ๆ ก็ใช้ แผนเพิ่มไว้อุ่นใจ

ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม สำหรับแผนครบคุ้มอุ่นใจ

โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น เพิ่มเติมในกรมธรรม์ 

5. ไม่จำกัดครั้งการเข้าแอดมิท    หมายถึงอะไร

สามารถเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในกี่ครั้งก็ได้ใน 1 ปีกรมธรรม์ โดยการเข้ารักษาในแต่ละครั้งจะมีวงเงินสูงสุดตามแผนความคุ้มครองที่เลือก 

ทั้งนี้ บริษัทจะนับรวมวงเงินค่ารักษาต่อครั้ง กรณีรักษาตัวด้วยโรคเดิม หรือด้วยเหตุจากการบาดเจ็บหรือการป่วยเดียวกัน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกันภายใน 90 วัน หากเกิน 90 วัน นับแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย จะนับเป็นวงเงินค่ารักษาครั้งใหม่ 

6. ซื้อผู้ป่วยในเหมาเหมา แผนกำลังดี มีวงเงินความคุ้มครอง 50,000 บาท หากป่วยต้องนอน รพ. จะได้ความคุ้มครองครั้งละ 50,000 บาท ทุกครั้งใช่หรือไม่

ใช่ ลูกค้าจะมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) 50,000 บาท ต่อครั้ง โดยจะต้องเป็นการเข้ารับการรักษาด้วยโรคที่ต่างกัน 

ทั้งนี้จะนับรวมวงเงินค่ารักษาเดิม กรณีรักษาตัวด้วยโรคเดิมหรือด้วยเหตุจากการบาดเจ็บหรือการป่วยเดียวกัน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกันภายใน 90 วัน หากเกิน 90 วัน นับแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย จะนับเป็นวงเงินค่ารักษาครั้งใหม่

7. ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันไหม ต้องสำรองจ่ายไหม

  • ไม่มีการตรวจสุขภาพ แต่ลูกค้าต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตามความเป็นจริง
  • ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่าย กรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลคู่สัญญาของ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด) สามารถตรวจสอบโรงพยาบาลคู่สัญญาได้ที่ https://www.muangthai.co.th/th/Hospital-list

8. เบี้ยประกันภัยจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยหรือไม่

เบี้ยประกันภัยอาจเปลี่ยนแปลงตามอายุของผู้เอาประกันภัย

หมายเหตุ: เบี้ยประกันภัยอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น เพศ อายุ แผนความคุ้มครองที่เลือกซื้อ เป็นต้น ทั้ง นี้เบี้ยประกันภัยจะเป็นไปตามที่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด โดยได้ผ่านการอนุมัติจาก คปภ. แล้ว

9. รายละเอียดเพิ่มเติม

สำหรับความคุ้มครองผู้ป่วยใน

สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition)

บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ สำหรับโรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) ที่ยังมิได้รักษาให้หายก่อนวันที่สัญญาเพิ่มเติมนี้เริ่มมีผลคุ้มครองเป็นครั้งแรก เว้นแต่ 
1) ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้น ความคุ้มครองดังกล่าว หรือ 
2) โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) นั้น ไม่ปรากฏอาการ ไม่ได้รับการตรวจรักษาหรือวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือไม่ได้พบหรือปรึกษาแพทย์ ในระยะ 5 ปีก่อนวันที่สัญญาเพิ่มเติม เริ่มมีผลคุ้มครองเป็นครั้งแรก และในช่วงเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมนี้เริ่มมีผลคุ้มครองเป็นครั้งแรก

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง

สัญญาเพิ่มเติมนี้ไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล หรือความเสียหายที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือการป่วย  (รวมทั้งภาวะแทรกซ้อน) อาการ หรือภาวะความผิดปกติที่เกิดจากทั้งหมด 21 ข้อ โดยมีตัวอย่างข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครอง เช่น

1) ภาวะที่เป็นผลจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด หรือระบบการสร้างอวัยวะของร่างกายไม่สมบูรณ์ แต่กำเนิด  หรือโรคทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติในการพัฒนาการของร่างกาย เว้นแต่ สัญญาเพิ่มเติมนี้มีผลคุ้มครองมา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (1 ปี) และปรากฏอาการหลังผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 16 ปี
2) การตรวจรักษาหรือการผ่าตัดเพื่อเสริมสวย หรือการแก้ไขปัญหาผิวพรรณ สิว ฝ้า กระ รังแค  ผมร่วงหรือการควบคุมน้ำหนักตัว การผ่าตัดที่สามารถทดแทนด้วยการรักษาแนวทางอื่น  เว้นแต่เป็นการตกแต่งบาดแผลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่ได้รับความคุ้มครอง
3) การตั้งครรภ์ แท้งบุตร ทำแท้ง การคลอดบุตร โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์   การแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก (รวมถึงการสืบวิเคราะห์และการรักษา)  การทำหมันหรือการคุมกำเนิด ยกเว้น มะเร็งครรภ์ไข่ปลาอุก (Choriocarcinoma)
4) การตรวจรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา การทำเลสิค ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์เพื่อช่วยในการมองเห็นหรือการรักษาความผิดปกติของการมองเห็น
5) การรักษาหรือการบำบัดการติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นต้น

การต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal)
สัญญาเพิ่มเติมนี้ จะต่ออายุเมื่อครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่ต้องแสดงหลักฐาน แต่บริษัทยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการปรับเบี้ยประกันภัย ตามข้อกำหนดเรื่อง “การปรับเบี้ยประกันภัย”  ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน เว้นแต่กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทจะสงวนสิทธิ์ไม่ต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม โดยบริษัทจะแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 30 วัน  

1) ในกรณีที่มีหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยไม่แถลงข้อเท็จจริงตามใบคำขอเอาประกันภัย หรือคำขอต่ออายุ (Reinstatement)  ใบแถลงสุขภาพ และข้อแถลงเพิ่มเติมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ  ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่อาจทำให้บริษัทฯ เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่รับทำสัญญา หรือรับประกันแบบมีเงื่อนไข
2) ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องผลประโยชน์จากการที่ตนให้มีการรักษาการบาดเจ็บหรือการป่วยโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ 
3) ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องผลประโยชน์ค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมกันทุกบริษัทเกินกว่ารายได้ที่แท้จริง

การปรับเบี้ยประกันภัย
บริษัทอาจปรับเบี้ยประกันภัย ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย ในอัตราเบี้ยประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้
แล้ว อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) อายุ และชั้นอาชีพ ของแต่ละบุคคล 
2) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) ของสัญญาเพิ่มเติมนี้ โดยบริษัทจะแจ้งผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือวิธีการอื่นที่ผู้เอาประกันภัยให้ความยินยอม ไม่น้อยกว่า 30 วัน

สำหรับความคุ้มครองชีวิต

กรณีที่บริษัทประกันจะไม่คุ้มครอง
1. กรณีผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุของกรมธรรม์ครั้งสุดท้าย  หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
2. กรณีผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
3. กรณีผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องแท้จริง และบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าในขณะทำสัญญาประกันภัย อายุที่ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราเบี้ยประกันภัยตามทางค้าปกติของบริษัทฯ

ความสมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้ว และแถลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือรู้อยู่แล้วในข้อความจริงใด แต่ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้นให้บริษัทฯ ทราบในขณะที่ขอเอาประกันภัย ซึ่งถ้าบริษัทฯ ทราบข้อความจริงนั้นๆแล้ว อาจจูงใจบริษัทฯ ให้เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือไม่ยอมทำสัญญา สัญญาประกันภัยจะตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ซึ่งบริษัทฯ อาจบอกล้างสัญญา และไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ ความรับผิดของบริษัทฯ จะมีเพียงคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้วทั้งหมดเท่านั้น