ไม่ใช่สายหวาน ก็เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้!
โรคเบาหวาน หนึ่งในโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัญหาของระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าปกติ โดยสาเหตุโรคเบาหวาน เกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ถ้าไม่ระวัง หรือ ป้องกันโรคเบาหวาน ความเสี่ยงก็อาจส่งผลให้เป็นโรคแทรกซ้อนตามมาได้ วันนี้ LINE BK จะพามาทำความรูจักโรคเบาหวานให้มากขึ้น โดยเฉพาะ อาการโรคเบาหวาน รวมถึงวิธีป้องกันโรคเบาหวาน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน
สาเหตุของโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยง โรคเบาหวาน มาจากพฤติกรรมการกิน รองลงมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยไม่รู้ตัว รวมถึงอายุ ความเครียด หรือ ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อินซูลิน ที่คอยทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายในร่างกายเพื่อสร้างเป็นพลังงาน แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดมีระดับที่สูงขึ้น
โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ และกี่ชนิด
โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่สงสัยว่าตัวเองกำลังงมีอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวาน หรือไม่ โดยเราสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปได้ดังนี้
โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
ประเภทที่ 1 เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิไปทำลาย เบตา เซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งเเต่ช่วงวัยเด็ก และ วัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 4-7 ปี และ 10-14 ปี
ประเภทที่ 2 สามารถพบได้มากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กว่าร้อยละ 95 โดยสาเหตุหลักเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้อินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือ มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะแรก น้ำตาลในเลือดสูง หรือสูงขึ้นเฉียบพลัน เช่น 400-500 เกลือแร่ผิดปกติ มีภาวะขาดน้ำ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทำให้คนไข้มีอาการซึมลงได้ หรือ ในภาวะที่เรียกว่า ช็อกน้ำตาล
ระยะที่ 2 เป็นเบาหวานมานานแล้วไม่สามารถคุมน้ำตาลได้ จะทำให้เส้นเลือดพัง เส้นเลือดแข็งง่ายขึ้น ตีบง่ายขึ้น และถ้าเส้นเลือดทั่วร่างกายตีบ ก็ส่งผลให้เส้นเลือดในสมองตีบด้วยเช่นกัน ส่งผลต่อเนื่องถึงขั้นการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้อาจมีอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้หัวใจขาดเลือด และถ้าเส้นเลือดที่ขาตีบก็จะทำให้เวลาเป็นแผล แผลจะหายช้า เนื่องจากแผลขาดเลือด สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไข้ต้องตัดขาทิ้ง เรียกได้ว่า ส่งผลต่อทุกส่วนของร่างกาย
อย่างที่กล่าวไว้ว่าปัจจุบันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ถูกตรวจพบมากที่สุด และส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมาก หรือกลุ่มคนที่มีรูปร่างอ้วน เป็นต้น
อาการของโรคเบาหวาน
อาการที่เกิดจากโรคเบาหวานมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. อาการที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น มือสั่น รู้สึกหิว อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง สับสน หมดสติ ชัก
2. อาการที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น
โรคเบาหวานป้องกันได้อย่างไร
จากข้อมูลข้างต้น โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายปัจจัย และบางปัจจัยเสี่ยงก็ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยจากโรคประจำตัว การตั้งครรภ์ หรือ ยาประจำตัวที่แพทย์สั่งจ่าย แต่ในส่วนของปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ในส่วนนี้สามารถป้องกันได้ ผ่านการปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
· บริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว
· ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
· ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
· หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกน้ำหวาน ของหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน
· ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปีและสม่ำเสมอ
ใครเสี่ยงโรคเบาหวาน
· อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
· ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23
· สัดส่วนของรอบเอวต่อส่วนสูงมากกว่า 0.5
· มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติเป็นโรคเบาหวาน
· ช่วงตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
· มีประวัติเป็นโรคความดันสูง
· มีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น ไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
โรคเบาหวานถือเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เราต้องระมัดระวัง โดยอาการของโรคเบาหวานจะค่อย ๆ ส่งสัญญาณให้ร่างกายแสดงออกทีละน้อย หรือรุนแรง และส่วนใหญ่สาเหตุโรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพันธุกรรม ดังนั้นควรตรวจสอบอาการของตัวเองอยู่เสมอ เพราะโรคเบาหวานเป็นแล้วยากที่จะหายขาด หากพบความผิดปกติกับสุขภาพควรหาแนวทางการรักษา ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรงขึ้นตามมา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและการเงินของผู้ป่วยแย่ลงได้
ดังนั้นมองหาประกันสุขภาพไว้ก่อนป่วย จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาที่เกิดขึ้น ขอแนะนำประกันผู้ป่วยนอกเบาเบา ที่จะช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก เลือกวงเงินความคุ้มครองได้สูงสุด 2,000 บาท (1) ต่อครั้ง สูงสุด 30 ครั้งต่อปี(2) เบี้ยเบาๆ เริ่มต้นเพียง วันละไม่ถึง 6 บาท(3) ซื้อได้โดยไม่ต้องซื้อพ่วงกับประกันสุขภาพผู้ป่วยใน ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ค่าธรรมเนียมปรึกษาแพทย์ ค่าวินิจฉัยและค่ายา และอื่นๆสามารถซื้อได้ตั้งแต่อายุ 20-58 ปี ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุก็คุ้มครอง
รายละเอียดเพิ่มเติม
· ประกันผู้ป่วยนอกเบาเบา คลิกที่นี่
หมายเหตุ
1. กรณีเลือก แผน 3 (แผนเพิ่มไว้อุ่นใจ)
2. สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกได้ 1 ครั้งต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี และการรักษาโรค หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเดียวกันต่อเนื่องได้ไม่เกิน 7 ครั้ง แต่หากต้องรักษาพยาบาลต่อเนื่องด้วยสาเหตุของโรคเดิม และระยะเวลาห่างจากการรักษาครั้งสุดท้ายเกินกว่า 14 วัน ให้ถือเป็นการรักษาโรคใหม่
3. ผลประโยชน์ เงื่อนไข และความคุ้มครองโดยละเอียด เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
4. การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต
5. โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย