CI

รับเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้าย

รับเงินก้อนเพื่อใช้เป็นค่ารักษา หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ตามต้องการ

เข้ารักษาได้สูงสุด 30 ครั้งต่อปี

เจอระยะไหนก็คุ้มครอง ไม่ต้องรอรุนแรง​

คุ้มครองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ต่อเนื่องจนถึงระยะรุนแรง

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

 

เหมาะกับใคร

คนที่กังวลเรื่องค่ารักษาก้อนโต หากตรวจเจอโรคร้าย /  คนที่กำลังมองหาประกันโรคร้ายเฉพาะกลุ่ม แบบเบี้ยไม่แพง

ข้อมูลแบบประกัน

    • สมัครได้ตั้งแต่ :
    • อายุ 20-58  ปี
    • จ่ายเบี้ยประกันภัย :
    • จ่ายเบี้ยปีต่อปี ต่อเนื่องได้ถึง 10 ปี

    • งวดการชำระเบี้ยประกันภัย :
    • รายปี

    • จำนวนปีที่คุ้มครอง :
    • สูงสุด 10 ปี

    • สิทธิลดหย่อนภาษี :
    • ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

    • การตรวจสุขภาพ :
    • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพตามจริง

    • ความคุ้มครอง :
    • คุ้มครองชีวิต 50,000 บาท เจอโรคร้ายจ่ายสูงสุด 500,000 บาท

    • เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น :
    • มะเร็ง      482บาท/ปี
      สมอง      482บาท/ปี
      หัวใจ      187บาท/ปี
      (เบี้ยเพศหญิงอายุ 20ปี)

แผนประกัน

 

  •  

ตัวอย่างเบี้ยประกันภัย (รายปี)

หมายเหตุ: เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับเพศและอายุของผู้เอาประกันภัย

ซื้อประกันผ่าน LINE BK 

ยังไม่มี LINE BK?

สมัคร LINE BK    ดูวิธีการสมัคร  

คำถามที่พบบ่อย

1. ผลประโยชน์ความคุ้มครองโดยย่อ / ตารางผลประโยชน์

โรคร้ายเจอจ่าย

คุ้มครองโรคร้ายแรงโดยสามารถเลือกความคุ้มครองเฉพาะกลุ่มโรคที่กังวลได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ จำนวนเงินเอาประกันภัย 250,000 บาท โดยให้ความคุ้มครองระยะเริ่มต้น 250,000 บาท ระยะรุนแรงสูงสุด 500,000 บาท (หักผลประโยชน์หากบริษัทฯ ได้เคยจ่ายผลประโยชน์กลุ่มโรคนั้นๆ ในระยะเริ่มต้นมาก่อน (ถ้ามี))

ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม

2. ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • โรคร้ายเจอจ่าย เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัยคุ้มครองภายในระยะเวลา 10/10 และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง ดี แคร์ (D Care) รับประกันโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต  
  • บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะรุนแรง โดยหัก ผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับแล้ว ตามความคุ้มครองกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะเริ่มต้น (ถ้ามี)
  • ความคุ้มครองในแต่ละกลุ่มโรคร้ายแรงเป็นไปตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ระบุในกรมธรรม์
  • การรับชำระเบี้ยประกันภัยโดยนายหน้าประกันชีวิตเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
  • การแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย /พิจารณาจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย 
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • หลังกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตและชำระเงินคุณจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองจนกว่าจะผ่านการพิจารณารับประกันภัยจาก บริษัทฯ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต

3. รายละเอียดโรคที่คุ้มครอง

4. ซื้อแล้วคุ้มครองเลยไหม

แบบประกันนี้มีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (เรียกว่า waiting period) 90 วัน นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครอง* ทั้งนี้รายละเอียดเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์

*หมายเหตุ: นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครองหรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม (reinstatement) แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด โปรดตรวจสอบรายละเอียดข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองเพิ่มเติมในกรมธรรม์ 

5. มีข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายผลประโยชน์กรณีไหนบ้าง

จะไม่จ่ายผลประโยชน์ โดยย่อ เช่น

  • โรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นก่อนวันเริ่มมีผลคุ้มครอง
  • ยังอยู่ในระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (waiting period) โดยความคุ้มครองโรคร้ายแรงนี้ จะไม่คุ้มครองภายใน 90 วัน นับจากวันเริ่มมีผลคุ้มครอง
  • ไม่ได้แถลงประวัติสุขภาพตามความจริงในขั้นตอนการทำประกัน
  • เป็นข้อยกเว้นของแบบประกันอยู่แล้ว สำหรับความคุ้มครองโรคร้ายแรง เช่น 
-ความบกพร่องทางร่างกาย การเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ ที่ผู้เอาประกันภัยทราบอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย แต่ไม่ได้แจ้งให้บริษัททราบ
-การปฏิเสธไม่ยอมรับการรักษา แนะนํา หรือ ปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์
-สูดดม กิน ดื่ม ฉีด หรือนําสารมีพิษเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ในขณะที่รู้สึกผิดชอบ หรือวิกลจริต หรือไม่ก็ตาม
-การติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV Positive) หรือภาวะของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) เป็นต้น
-การฆ่าตัวตาย หรือการทําร้ายร่างกายตนเอง เป็นต้น
 

ทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดูรายละเอียดแบบประกันฉบับเต็ม

โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น เพิ่มเติมในกรมธรรม์ 

6. เบี้ยประกันภัยจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยหรือไม่

เบี้ยประกันภัยอาจเปลี่ยนแปลงตามอายุของผู้เอาประกันภัย

หมายเหตุ: เบี้ยประกันภัยอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น เพศ อายุ แผนความคุ้มครองที่เลือกซื้อ เป็นต้น ทั้งนี้เบี้ยประกันภัยจะเป็นไปตามที่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด โดยได้ผ่านการอนุมัติจาก คปภ. แล้ว

7. รายละเอียดเพิ่มเติม

สำหรับความคุ้มครองโรคร้ายแรง
1. ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงในกลุ่มโรคแต่ละกลุ่ม ระยะเริ่มต้นตามคำนิยามที่ระบุไว้ในข้อตกลงคุ้มครอง
หากผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัย และหรือยืนยันจากแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะเริ่มต้นตามคำนิยามที่ระบุไว้ในข้อตกลงคุ้มครองกลุ่มโรคของแต่ละกลุ่ม ทั้งกลุ่มโรคมะเร็ง, กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจ, กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง ในระหว่างที่ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับคำนิยามของโรคร้ายแรงแล้วแต่กรณี บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองกลุ่มโรคในแต่ละกลุ่มโรคระยะเริ่มต้น เท่ากับร้อยละ 100 ของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางความคุ้มครอง และ ความคุ้มครองสำหรับกลุ่มโรคร้ายแรงนั้นๆ ระยะเริ่มต้นตามข้อตกลงคุ้มครองกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง จะสิ้นสุดลง


2. ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงในกลุ่มโรค กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระยะรุนแรงตามคำนิยามที่ระบุไว้ในข้อตกลงคุ้มครอง
หากผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัย และหรือยืนยันจากแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะรุนแรงตามคำนิยามที่ระบุไว้ในข้อตกลงคุ้มครองกลุ่มโรคของแต่ละกลุ่ม ทั้งกลุ่มโรคมะเร็ง, กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจ, กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง ในระหว่างที่ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับคำนิยามของโรคร้ายแรงแล้วแต่กรณี บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะรุนแรง เท่ากับร้อยละ 200 ของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางความคุ้มครอง หัก ผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับแล้วตามความคุ้มครองข้อ 1 กลุ่มโรคนั้นๆ ระยะเริ่มต้น (ถ้ามี) และข้อตกลงคุ้มครองกลุ่มโรคของแต่ละกลุ่มโรค ระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง จะสิ้นสุดลง โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับข้อตกลงคุ้มครองกลุ่มโรคนั้นๆ ระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง อีก
 

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง

1.กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เว้นแต่การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ซึ่งเกิดขึ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน อันเนื่องมาจากสาเหตุ 6 ข้อ โดยมีตัวอย่างข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครอง เช่น

1.1) ความผิดปกติซึ่งแพทย์ยืนยันและมีหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงหรือโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นก่อนวันเริ่มมีผลคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ หรือก่อนวันที่ให้มีการต่ออายุสัญญาเมื่อสัญญาเพิ่มเติม สิ้นผลบังคับ (reinstatement) หรือก่อนวันที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมนี้ แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นภายหลัง ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย บริษัทจะไม่คุ้มครองเฉพาะในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น เว้นแต่ ผู้เอาประกันภัย ได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไข ยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว
1.2) การฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง หรือพยายามกระทำเช่นว่านั้น เป็นต้น

2. กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากสาเหตุ 9 ข้อ โดยมีตัวอย่างข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครอง 2 ข้อ เช่น
2.1) การบาดเจ็บขณะที่ผู้เอาประกันภัยก่ออาชญากรรมที่มีความผิดสถานหนัก หรือขณะถูกจับกุม หรือหลบหนีการจับกุม
2.2) ความบกพร่องทางร่างกาย การเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ ที่ผู้เอาประกันภัยทราบอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย แต่มิได้แจ้งให้บริษัททราบ เป็นต้น
 

สำหรับความคุ้มครองชีวิต
กรณีที่บริษัทประกันจะไม่คุ้มครอง

1. กรณีผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุของกรมธรรม์ครั้งสุดท้าย  หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

2. กรณีผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

3. กรณีผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องแท้จริง และบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าในขณะทำสัญญาประกันภัย อายุที่ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราเบี้ยประกันภัยตามทางค้าปกติของบริษัทฯ

ความสมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้ว และแถลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือรู้อยู่แล้วในข้อความจริงใด แต่ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้นให้บริษัทฯ ทราบในขณะที่ขอเอาประกันภัย ซึ่งถ้าบริษัทฯ ทราบข้อความจริงนั้นๆแล้ว อาจจูงใจบริษัทฯ ให้เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือไม่ยอมทำสัญญา สัญญาประกันภัยจะตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ซึ่งบริษัทฯ อาจบอกล้างสัญญา และไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ ความรับผิดของบริษัทฯ จะมีเพียงคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้วทั้งหมดเท่านั้น